วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การกลับมาอีกครั้ง

ถ้ายังคงติดตามกันอยู่รอสักพักหลังการถือครองสมนะ

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ธงสีรุ้ง(สัญญลักณ์ของชาวรักร่วมเพศ)

ก่อนอื่นผมขอเขียนอะไรสักนิดหนึ่งในหัวข้อที่ตั้งไว้ สีรุ้ง ทำไมเขาถึงใช้สีนี้ผมมีโอกาสอ่านเล่มเดิมที่ผมอ่านนั้นแหละผมจะเริ่มเลยแล้วกัน เป็นสัญญล้กษณ์สีล่าสุดของคนรักเพศเดียวกันทั้งเลสเบี้ยน และ เกย์ (หลังจากที่เคยเปลี่ยนมาหลายสี ตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม) แรกเริ่มแต่เดีมนั้น คือในสมัยวิคตอเรียนของอังกฤษ สีที่เป็นสัญญลักษณ์ของชาวหญิงรักหญิงและชายรักชาย ก็คือสีเขียว ต่อมาเปลี่ยนมาใช้สีม่วงแทน ซึ่งเป็นสีที่มาจากป้ายผ้าที่ทหารนาซีใช้ติดแขวนเสื้อคนรักเพศเดียวกัน ในค่ายกักกัน เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่2(ส่วนชาวยิว และกลุ่มคนอื่นๆที่ไม่ใช่อรายัน ก็จะใช้สีอื่นๆติดแทน แบ่งเป็น หมวดหมู่ไป) แต่กาลต่อมา ประมาณปี1978 ศิลปินชาวเกย์ในชานฟานซิสโก นามว่านายกิลเบิร์ต เบเกอร์ ทนเสียงเรียกร้องของเพื่อนๆนักกิจกรรมทางสังคมที่ต้องการมีสัญญลักษณ์ของตัวเองไม่ไหว จึงลงมือตัดเย็บ ย้อมสี ประดิษฐธงสีรุ้งขึ้นมาครั้งแรกนั้นมีด้วยกันถึง8สีและแต่ละสีก็มีความหมายดังนี้ คือ สีชมพู่ หมายถึงเรี่องเพศ สีแดง หมายถึงชีวิต


สีส้ม หมายถึงการเยียวยา สีเหลือง คือพระอาทิตย์ สีเขียว คือธรรมชาติ สีฟ้า คือศิลปะ สีคราม แทนความผสาน และกลมกลืนและสีสุดท้ายคือ สีม่วงแทนจิตวิญญาณของคนรักเพศเดียวกัน หลังจากทำธงผืนนี้เสร็จก็เป็นที่ถูกอกถูกใจชาวเลสเบี้ยนและเกย์ แถบชานฟานฯเป็นอย่างมากใครๆก็อยากได้ไปเก็บไว้ที่บ้านบ้าง สีม่วง นี้เริ่มใช้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวครั้งแรกในยุค60 ซึ่งเป็นช่วงหลังเหตุการณ์สโตนวอลล์(สโตนวอลล์เป็นชื่อบาร์เกย์ที่ตำรวจเข้าไปตรวจตราและทำร้ายทอมคนหนึ่งทำให้ชาวรักเพศเดียวกันที่อยู่ในนั้นไม่พอใจตำรวจทำรุนแรงเกินกว่าเหตุจึงลุกขึ้นมาต่อสู้และได้รับชัยชนะในที่สุด อันเป็นที่มาของเหตุการณ์สโตนวอลล์)แต่มาฮิตจริงๆในยุค80ฮิตทั้งในหมู่รักเพศเดียวกันเอง และประชาชนทั่วไปก็เข้าใจความหมายของสีเป็นอย่างดีว่าเป็นสีของชาวโฮโมเซ็คชวลนายเบเกอร์ก็จึงได้ติดต่อบริษัททำธงให้ผลีตออกมาให้หน่อยเพื่อที่มันจะแพร่กระจายไปใน ชาวรักเพศเดียวกันเยอะๆแต่ปรากฎว่าบริษัททำธงไม่สามารถผลิตสีชมพู่ได้จึงมาต่อรองขอตัดออกนายเบเกอร์ก็ยอมตามบริษัททำธงขอมาแต่ธงธงสีรุ้งได้เผยแพร่อย่างเป็นทางการในงานเดินขบวนของชาวเกย์ที่จัดเพื่อระรึกถึงนาย นายฮารวีร์ มิลค์ เกย์นักการเมืองชื่อดังที่ถูกฆาตกรรมและคณะกรรมการงานพาเหรด เกย์ (gay pride)แต่มีมติตัดสีครามออกจนไดรับความนิยมจนถึงเดียวนี้ เอาแค่นี้แล้วกันถ้าสนใจแล้วผมจะเขียนให้อ่านกันใหม่แล้วกัน เรื่องหน้าพบกับเสียงและภาพ

วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551

อิสระกับความคิดเพศที่3

อิสระ คำง่ายๆจากหัวข้อที่เอ่ยมาอาจจะแปลกๆ ก่อนอื่นผมจะเริ่มเกี่ยวกับคำๆนี้เสียก่อน(ในทัศนะของผมนะครับ)ในเบื้องลึกในสิ่งที่ผมจะเขียนผ่านบทความนี้ อิสระก็คือการที่ได้ทำในสิ่งที่อยากจะทำไม่ว่าจะเป็นทางความคิด กาย ใจ อาจเหมือนกับทางธรรมที่เคยมีมานับ1000ปีแต่ต้องอยู่ในกฎของสังคมแต่ว่าการอยู่ในกฎก็อาจจำกัดคำว่าอิสระใช่ไหมครับ แต่คำๆนี้มีความหมายอย่างไรอาจเหมือนหรือต่างจากมุมของท่านที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ แต่ไม่ว่กันนะครับ



มาเริ่มกับประเด็นแรกเลยแล้วกัน ผมมีโอการได้อ่านบทความบทหนึ่งจากหนังสือท่องเที่ยวเล่มที่คนอย่างผมและใครหลายๆคนคงไม่ค่อยจะได้อ่านหรือสนใจเลยเพราะผมไม่ใช่คนที่สันหาเกี่ยวกับเรื่องนี้เลยจะเป็นความโชคดีหรือไรที่ทำให้ผมอ่าน เอาง่ายๆมันอยู่ในโต๊ะผมตั้งนานแล้วละ คือมีเพี่อนมาทิ้งไว้ครับนานแสนนานผมทำแค่เปิดผ่านก็ดูรูปเฟราะไม่สนใจ จนวันที่ผมจะหาเรื่องเขียนบทความ ลองเปิดอ่านเนื้อหาข้างในดูและผมก็จอบทความนี้เลยขอยิบมาเขียนเล่าให้ท่านได้ลองอ่านดู แล้วผมจะเล่าเรื่องเพื่อนคนนี้ให้ฟังแล้วกัน หัวข้อที่ผมจะเขียนเขาหรือเธอตั้งไว้ว่า เกย์ กับ สว.สรรหารัฐธรรมนูญ ปื 50

ทำไมต้องสรรหาสมาชิกวุฒิสภา(สว.)?คำตอบง่ายๆก็คือหากให้มีการเลือกตั้งสว.ที่ได้มาส่วนใหญ่ในขณะนี้ก็จะมาจากผู้คนเพียงไม่กี่กลุ่ม ที่ผูกขาดการเมืองในปัจจุบัน นั้นก็คือ สว.ที่ได้ก็จะเป็นสว.ที่ถูกเรียกขานกันว่าเป็น สภาผัว สภาเมีย สภาครอบครัว ญาติโกโหติกา ดั้งนั้น แนวคิดเรื่องการสรรหาจึงเกิดขึ้นโดยให้กลุ่มบุคคลที่เชื่อว่าจะเป็นที่พึ่งพิงในสังคมขณะนี้เป็นผู้ตัดสิน วึ่งก็ได้แก่บุคคลใน ศาลฎีกา ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ , ปปช , กกตฯลฯเป็นต้นรวมทั้งสิน 7 องค์กร.

ทำไมต้องพูดถึงเกย์กับสว.?ซึ่งผมก็เริ่มอ่านและนำมาเล่าสู่กันฟังเขาหรือเธอก็ตอบว่าคำตอบง่ายๆก็คือเกย์ก็เป็นประชาชนชาวไทยที่มีสิทธิ์มีเสียงในทางการเมืองทุกๆระดับบนพื้นแผ่นดินไทย อันเป็นที่รักยิ่งของเรา ดังนั้นการที่มีเกย์เปิดเผยตัวตนก้าวเข้าสู่เวทีการเมิองในระดับนี้ย่อมมีส่วนทำให้ ภาพรวมของชาวเกย์ในสายตาของสังคมเปิดกว้างยอมรับการมีตัวตนตลอดจนมีความสามารถในเชิงบวกของชาวเกย์อีกด้วย

ทำไมคณะกรรมการสรรหาควรจะพิจารณาเลือกเกย์เป็นสว.?อีกคำตอบที่ให้ไว้คือ วัตถุประสงค์ข้อ1ในการสรรหาสว.ในครั้งนนี้ก็คือการเปิดโอกาสเข้ามาทำงานในสภาโดยเฉพาะกลุ่มบุคคลชายขอบต่างๆที่ไม่เคยได้รับโอกาสเช่นนี้แลหากยึดมั่นในหลักการของ สว. ว่าควรจะเป็นตัวแทนของกลุ่มบุคคลต่างๆในสังคม กลุ่มเกย์ก็สมควรที่จะไดรับการพิจารณาเป็นอย่างยิ่งมิใช่หรือ?

ท้ายที่สุดในครั้งนี้เรามีเกย์เปิดเผยตัวตนในสังคมลงสมัครถึง3คน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนมากที่สุด เพราะในการเลือกตั้งสว.ปี49 เรามีเกย์เปิดเผยลงสมัคร สว. เพียง2 คนเท่านั้นดั้งนั้น ในการสรรหาคร้งนี้จึงเป็นสถิติที่น่าสนใจในทางการเมือง